การบำรุงรักษาโต๊ะสนุกเกอร์
1. สถานที่ตั้ง โต๊ะสนุกเกอร์ ควรติดตั้งอยู่ภายในอาคารที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ไม่ถูกแสงแดดส่องถึง เพราะจะทำให้ผ้าสักหลาดสีซีด ไม้แห้งหดตัว อากาศภายในต้องหมุนเวียนได้ดีไม่อับชื้น ไม่มีฝุ่น หลังคากันฝนได้ดี ไม่ถูกละอองฝน แสงไฟภายในสว่างพอสมควร การซ่อมบำรุงโต๊ะสนุกเกอร์ ปรับระดับ ขยับผ้าสักหลาดให้ตึงทำความสะอาดหน้าพื้นหินชนวน (มีฝุ่นแป้งและฝุ่นชอล์กตกค้าง) เช็ดทำความสะอาดโครงโต๊ะสนุกเกอร์ ควรทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยใช้ช่างผู้มีความชำนาญเฉพาะ
2. โครงโต๊ะสนุกเกอร์ - ไม้ชิ่ง (FRAME WORK-CUSHION BODY MAINTENCE)
ขนาดพื้นที่ สำหรับใช้ในการเล่นจากขอบผิวของคูชชั่นจะต้องมีขนาด 11 ฟุต 8.5 นิ้ว x 5 ฟุต 10 นิ้ว โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 0.5 นิ้ว
ความสูงของโต๊ะสนุกเกอร์ วัดจากพื้นถึงผิวบนของคูชชั่นจะต้องอยู่ระหว่าง 2 ฟุต 9 ? นิ้ว ถึง 2 ฟุต 10 ? นิ้ว ขนาดของหลุมจะต้องเป็นไปตาม “แม่แบบ” (เทมเพลท) ซึ่งได้รับการรับรองของสภาควบคุมบิลเลียดและสนุกเกอร์
เส้นเมือง เป็นเส้นตรงซึ่งลากห่างจากขอบด้านในของคูชชั่นล่าง 29 นิ้ว และขนานกับคูชชั่นล่างพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเส้นนี้กับขอบคูชชั่นล่าง เรียกว่า “ในเมือง” (พื้นที่ในเมือง = 1/5 ของพื้นที่ทั้งหมด)
เส้นครึ่งวงกลม (เส้นดี) คือเส้นที่เขียนไว้ในเมือง โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของ “เส้นเมือง” และมีรัศมี 11.5 นิ้ว (รัศมี =1/6 นิ้ว ของความยาวเส้นเมือง)
จุดสปอต (จุดดำ) ตั้งอยู่ห่างจากขอบด้านในของคูชชั่นบน 12 ? นิ้ว (อยู่ห่างชิ่ง = 1/11 ของความยาวพื้นโต๊ะสนุกเกอร์)
จุดกลาง (จุดน้ำเงิน) ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างหลุมกลางทั้ง 2 และมีระยะห่างจากคูชชั่นบนและล่างเท่ากัน
จุดปิรามิด (จุดชมพู) ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง “จุดกลาง” และขอบในของคุชชั่นบน
จุดกลางของเส้นเมือง (จุดน้ำตาล) ตั้งอยู่บนกึ่งกลางของ “เส้นเมือง” (ข้อ 2 ทั้งหมดนี้มาจากกติกาการเล่นสนุกเกอร์ โดย สภาควบคุมบิลเลียดและสนุกเกอร์)
การดูแลรักษาโครงโต๊ะสนุกเกอร์ – ไม้ชิ่ง
ความดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ หลังจากการเล่นทุกครั้ง เพื่อความสวยงามคงทน โดยการปัดฝุ่นหรือใช้ผ้าที่อ่อนนุ่มชุดน้ำบิดแห้งหมาด ๆ เช็ดให้ทั่วโครงโต๊ะสนุกเกอร์ หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์เช็ด
3. ผ้าสักหลาด (CLOTH)
ผ้าสักหลาดมีแหล่งผลิตอยู่หลายประเทศ แต่ที่มีคุณภาพดีที่สุดที่นิยมใช้ส่วนใหญ่ผลิตในประเทศอังกฤษ เช่น LIREY , DOUBLE CUE , TOP , CHAMPION , BOUBLE GOLDEN เป็นต้น ส่วนผ้าที่นิยมประดับรองลงมาเพราะมีราคาถูก ได้แก่ JUPITER และผ้าที่ผลิตในประเทศ TAIWAN , KOREA , CHINA เป็นต้น
ผ้าสักหลาดที่ดีนั้น ต้องมีขนสั้นพอเหมาะมีความหนาแน่นสม่ำเสมอผลิตจากขนแกะ ขนเอียงไปทางเดียวกัน เพราะฉะนั้นการปัดทำความสะอาดผ้าสักหลาดต้องปัดไปทางเดียวกันเสมอ เพื่อให้ขนเนียมเรียบไปทางเดียวกัน ผ้าสักหลาดใหม่ ๆ ควรระมัดระวังเวลาแทงย้อนผ้าสักหลาด เพราะจะทำให้ลูกมีการหักเห เซหรือไหลได้ นักสนุกเกอร์ที่มีความชำนาญจะเข้าใจและสังเกตการวิ่งของลูกสนุกเกอร์ได้ดี เมื่อมีการแข่งขันมักจะทดลองโต๊ะสนุกเกอร์เพื่อสังเกตการวิ่งของลูก และขอบยาง คูชชั่นดูก่อนทุกครั้งไป
อนึ่งผ้าสักหลาดมักจะมีการยืดตัวอยู่เสมอ ถึงแม้เวลาติดตั้งจะขึงให้ตึงเพียงไร ระยะเวลานานเข้าก็จะมียืดตัวลงเป็นปกติธรรมดา เพราะฉะนั้นควรมีการถอดขึงตึงผ้าสักหลาดใหม่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะทำให้ผ้าสักหลาดมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ลูกวิ่งดีขึ้น
หมายเหตุ ถ้าต้องการความถูกต้องแน่นอน และแม่นยำในการแทงลูกเพื่อใช้ในการแข่งขันก็ไม่ควรใช้ผ้าสักหลาดด้านหลัง (กลับผ้า) แต่ถ้าต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายการกลับผ้าสักหลาดก็ทำได้ ไม่มีข้อห้าม
การดูแลรักษาผ้าสักหลาด ควรปัดฝุ่นด้วยแปรงปัดสักหลาดที่ได้รับมาตรฐาน โดยการปัดจากด้านท้ายโต๊ะสนุกเกอร์ขึ้นไปยังจุดดำเสมอ การปัดที่ถูกต้องจะต้องปัดไปตามขนสักหลาด ลักษณะที่เป็นเส้นตรงขนานไปกับความยาวของโต๊ะสนุกเกอร์ รวมทั้งชิ่งทั้งหมด ด้วยส่วนเศษแป้งหรือฝุ่นชอล์ก ให้ปัดลงหลุมเสมอ ควรปัดทุกครั้งหลังจากเลิกเล่น ในแต่ละวันควรใช้ผ้าคลุมโต๊ะสนุกเกอร์ ตลอดเมื่อไม่มีการเล่น
การทำความสะอาดผ้าสักหลาด
การใช้ผ้าที่นุ่มชุบน้ำ บิดให้แห้งหมาด ๆ แล้วเช็ดเบา ๆ ตามแนบขนสักหลาดให้ทั่ว วิธีนี้เป็นการกำจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกผ้าสักหลาดได้ดีพอสมควร ควรเปิดไฟเพื่อลดความชื้นของผ้าด้วย วิธีนี้ควรทำ 2-3 เดือนต่อครั้ง ข้อระวัง อย่าให้ผ้าชื้นเพราะอาจเกิดเชื้อราได้
การใช้เครื่องดูดฝุ่น โต๊ะสนุกเกอร์ เมื่อมีการใช้งานมามากพอสมควร ฝุ่นชอล์ก ฝุ่นแป้ง เถ้าบุหรี่ ฝุ่นละอองทั่วไป จะจับเกาะติดแน่นกับผ้าสักหลาดบางส่วน เข้าตกลึกลงบนพื้นหินชนวนได้ ไม่สามารถปัดออกด้วยแปรงหรือผ้าได้ ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีกำลังไม่แรงนัก วิธีดูดฝุ่นกระทำเช่นเดียวกับการปัดฝุ่นด้วยแปรง คือดูดจากท้ายโต๊ะสนุกเกอร์ ไปหัวโต๊ะสนุกเกอร์ ก่อนการดูด ควรใช้ฝ่ามือตบลงบนผ้าเป็นจังหวะ จะช่วยให้ฝุ่นต่าง ๆ หลดลอยขึ้นมาเหนือสักหลาดได้มากทีเดียว การดูดฝุ่นจะได้ผลดีขึ้น วิธีนี้ควรทำอย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง
โดยการรีด (IRONING) การรีดผ้าสักหลาดด้วยเตารีด ควรรีดหลังทำความสะอาดแล้ว การรีดต้องรีดไปตามขนสักหลาด เช่นเดียวกับการปัดด้วยแปรง ข้อควรระวัง ความร้อนของเตารีดต้องไม่ร้อนจัด การรีดจะทำให้ลูกวิ่งอย่างราบเรียบและเร็วขึ้นไปไม่สะดุด
อนึ่งสำหรับโต๊ะสนุกเกอร์ ที่เปลี่ยนผ้าใหม่ การวิ่งของลูกสนุกเกอร์อาจวิ่งช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับความหนาของผ้าด้วย ถ้าผ้าสักหลาดหนาลูกจะจมลงในเนื่อผ้ามาก ทำให้เกิดแรงเสียดทานมาก ลูกสนุกเกอร์จะวิ่งช้าลงได้ เมื่อเล่นไประยะหนึ่ง และประกอบการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี การวิ่งของลูกสนุกเกอร์ก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ
ความเสียหายที่มักเกิดขึ้นกับผ้าสักหลาด
(1.) ร่องสึกสีขาว (WHITE TRACKING) เกิดขึ้นระหว่างขอบยางคุชชั่นกับพื้นผ้าสักหลาด และบริเวณปากหลุม อันเนื่องมาจากน้ำหนักลูกวิ่งบ่อยเป็นประจำในแนวเดียวกันบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับโต๊ะสนุกเกอร์ ที่ใช้งานมานาน แต่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดร่องสึกสีขาวได้เร็วขึ้นได้ในกรณีต่อไปนี้ คือ ขาดการดูแลรักษาโดยการปัดฝุ่นอย่างสม่ำเสมอ ลูกสนุกเกอร์มีตำหนิรอยบิ่น แทงลูกแรงเกินไป เป็นต้น
(2.) รอยจุดสีขาว (WHITE MARK) เกิดขึ้นจากการโยนลูกสนุกเกอร์ลงบนพื้นโต๊ะสนุกเกอร์ อย่างแรง จึงไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง การวางควรวางลูกสนุกเกอร์ลงบนจุดเบา ๆ และการตั้งลูกแดง ก็ควรใช้กรอบสามเหลี่ยมตั้งลูก
(3.) รอยถลอกคิว (CUE MARK) เกิดขึ้นจากการแทง “สกรู” แล้วหัวคิวไปขูดกับผ้าสักหลาดเป็นรอยถลอก อาจทำให้ขนผ้าสักหลาดหลุดได้ ฉะนั้นการแทงลูก “สกรู” ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
(4.) ลูกสนุกเกอร์ (BALIS) มาตรฐานลูกสนุกเกอร์ที่ใช้ต้องมีความยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 1/16 นิ้ว ลูกสนุกเกอร์ต้องมีความกลมสม่ำเสมอ เงามัน มีน้ำหนัก ไม่มีกระเทาะ บุบ หรือบิ่น ต้องมีสีสดใส ลูกสนุกเกอร์ที่นิยมใช้ในการแข่งขันคือ SUPER CRYSTALATE ผลิตในประเทศเบลเยี่ยม เพราะมีน้ำหนัก เงามัน ไม่แตกหรือบิ่นง่าย และมีราคาไม่แพงมากนัก ส่วนลูกสนุกเกอร์ที่พอใช้ได้ ราคาไม่แพงส่วนใหญ่จะผลิตในประเทสไต้หวัน
การดูแลรักษาลูกสนุกเกอร์
ควรปฎิบัติดังนี้ คือ อย่าทำลูกสนุกเกอร์ตกจากโต๊ะสนุกเกอร์ อย่าแทงลูกโดยใช้ไม้ไม่มีหัวคิว ตรวจหนังหุ้มปากรางรับลูกให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ไม่ฉีกขาด เพราะจะทำให้ลูกสนุกเกอร์ไปกระแทกกับโค้งทองเหลืองได้ เมื่อเลิกใข้ควรใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาด หรือล้างด้วยน้ำยาเช็ดให้แห้งก่อนเก็บเข้ากล่องใส่ลูกโดยความระมัดระวัง ไม่ควรเทกระแทกแรง เพราะจะทำให้ลูกสนุกเกอร์-ผ้าสักหลาด-หินชนวนบิ่นได้
(5.) ยางชิ่ง (CUSHION RUBBER) ยางชิ่งนับว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างมากของโต๊ะสนุกเกอร์ โดยหลักแล้วการแทงลูกสนุกเกอร์เข้ามุมที่สะท้อนออกจะเท่ากับมุมตกกระทบ แต่หากแทงแรงมาก หรือ แทงไซ้ แล้วลูกสนุกเกอร์เข้ามุมที่สะท้อนออกจะแคบลง หรือมากขึ้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากการยุบตัวของยางชิ่งและ/หรือ ลูกมีการหมุนตัว เมื่อกระทบยางชิ่ง ยางชิ่งที่ดีมีคุณภาพต้องมีความยืดตัวสม่ำเสมอ คงทนต่อแรงกระแทก ระยะเวลาใช้งานยาวนาน
(6.) หินชนวน (SLATE) / หินแกรนิต (GRANITE) หินชนวน/หินแกรนิต นับว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญและแพงที่สุดของส่วนประกอบโต๊ะสนุกเกอร์ หินชนวนที่มีคุณภาพและนิยมมากที่สุด คือ หินชนวนของประเทศอิตาลี หินชนวนเป็นหินธรรมชาติ อยู่ในกลุ่มหินอ่อน , หินแกรนิต ซึ่งมีคุณภาพเช่นเดียวกันกับหินชนวน นำหินทั้งก้อนใหญ่มาตัดซอยเป็นแผ่น ๆ ด้วยเครื่องมือทันสมัย ขัดผิวด้วยเครื่องขัดที่ทันสมัย มีหัวขัดเป็นเพชรหล่อเลี้ยงด้วยน้ำเวลขัด มีการขยายตัวต่ำมาก มีความเที่ยงตรง ความเรียบของระดับได้ 99.9%
การดูแลรักษาหินนั้นก็ควรระมัดระวังอย่าให้ผู้เล่นปีนโต๊ะสนุกเกอร์ อย่าเทกระแทกลูกลงบนพื้นโต๊ะสนุกเกอร์ฯ แรงเพราะจะทำให้หินบิ่น กระเทาะได้ ตรวจสอบน็อตยึดโครงโต๊ะสนุกเกอร์ดูว่าคลายตัวหรือเปล่า
(7.) อุปกรณ์หลุม ประกอบด้วยโค้งทองเหลือง-หนังหุ้มทองเหลือง-แหรับลูก-รางรับลูก-สายหนังยึดราง เป็นอุปกรณ์หลุมที่ทำหน้าที่รับลูกสนุกเกอร์จากการแทง โดยหนังทำหน้าที่กันไม่ให้ลูกสนุกเกอร์กระแทกกับโค้งทองเหลือง ส่วนแหรับลูกทำหน้าที่ส่งลูกสนุกเกอร์ลงรางรับลูก โดยมีสายหนังยึดรางผูกให้ลูกวิ่งต่ำลงเก็บไว้ปลายสุด สะดวกในการหยิบตั้งลูกสนุกเกอร์เล่นใหม่
(8.) โคมไฟ โคมไฟที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ น้ำหนักเบาพอสมควร เช่น ทำจากไฟเบอร์กลาส หรือไม้อัด โต๊ะสนุกเกอร์ ขนาด 6 x 12 ฟุต ควรใช้หลอดนีออน 40 W. รวม 4 หลอด เพื่อความสว่างและประหยัดกระแสไฟฟ้าด้วย ควรแขวนให้อยู่ระดับความสูงกับจากพื้นโต๊ะสนุกเกอร์ฯ ถึงขอบโคมไฟ 80-85 ซม. ขอบในควรทาสีขาวเพื่อช่วยเพิ่มแสงสว่าง ยึดเพดานด้วยโซ่ให้แน่นไม่แกว่ง
(9.) ไม้คิว (CUES STICK) ปลายไม้คิวที่นิยมโดยทั่วไปคือ ไม้แอ๊ช (WHITE ASH) และไม้เมเปิ้ล (MAPLE) ซึ่งมีต้นกำเนิดในอเมริการและแคนาดา เพราะไม้ 2 ชนิดนี้ มีน้ำหนัก-แข็ง-มีสปริง-หดขยายตัวน้อยมาก ไม้โค้งงอง่ายรับแรงสั่นสะเทือนในการแทงได้ดี
ส่วนด้ามไม้คิวนิยมใช้ไม้เนื้อแข็ง มีน้ำหนักมากแน่นไม่โค้งงอ เช่น ไม้มะเกลือ ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วน้ำหนักรวมของด้ามมีน้ำหนักไม่เพียงพอจึงนิยมเสริมถ่วงด้วยตะกั่วหรือเหล็กซ่อนไว้ที่ปลายด้ามคิว
การเก็บรักษาควรใส่กล่องกระบอกคิว หรือซองคิว การเก็บในอาคารควรใช้วิธีแขวนในอุณหภูมิที่พอเหมาะ เป็นวิธีที่ดีลูกต้องที่สุด ไม่ควรเก็บไม้คิวในที่อับชันหรือมีอุณหภูมิสูง เพราะอาจทำให้คิวคดงอได้ ไม่ควรเก็บไม้คิวไว้ในรถตลอดเวลา ตรวจดูยางรองด้ามกันกระแทกว่าใช้งานได้อยู่หรือเปล่า
(10.)หัวคิว (CUE TIP) และซอล์กฝนหัวคิว (CHALK) ลักษณะหัวคิวที่ดีต้องผลิตจากหนังโคหรือกระบือพันธุ์ใหญ่ เพื่อได้หนังหนาพอสมควร ต้องได้รับการขัดตกแต่งหัวคิวด้วยกระดาษทรายละเอียดเพื่อให้หัวมนโค้งตามที่ต้องการและให้เกิดรอยตะกุยบ้างเพื่อให้ชอล์กฝนหัวคิวติดได้ดีอีกด้วย การฝนหัวคิวเป็นการกำจัดความชื้นให้เกิดความฝืด เวลาแทงลูกสนุกเกอร์จะได้ไม่ไถลหรือมิด (แป๊ก) ยิ่งแทงลูกสกรูแล้วจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการฝนหัวคิวก่อนแทงเสมอ การฝนหัวคิวนั้น ควรฝนอย่างสม่ำเสมอก่อนแทงลูกทุกครั้งไป และไม่ควรฝนชอล์กนานหรือแรงเกินไป นอกจากจะสิ้นเปลืองชอล์กแล้ว ยังทำให้หัวคิวสึกเร็วขึ้น หัวคิวที่ดีต้องไม่อ่อนมากหรือแข็งกระด้างเกินไป ควรมีความยืดหยุ่นนุ่นเล็กน้อย ที่นิยมใช้ในประเทศไทยก็มี BLUE DIAMOND, ELK MARTER TIP, EAGLE MASTER TIPS ขนาด 9, 10, 11 มิลลิเมตร